วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อานิสงส์จากการสร้างกุศลกับพระธาตุ


อานิสงส์จากการสร้างกุศลกับพระธาตุ

อานิสงส์จากการสร้างกุศลกับพระธาตุ

---อานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการกราบไหว้บูชาและสร้างกุศลกับพระธาตุนั้น เชื่อว่าแรงกล้านัก  หากปฏิบัติบูชาด้วยจิตใจศรัทธาบริสุทธิ์และหมั่นกราบไหว้บูชาตามกำลังความสามารถเมื่อมีโอกาส  อานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุจักดลให้บังเกิดสิริมงคลแก่ชีวิตสืบไป

---กราบไหว้บูชาพระธาตุด้วยธูป เทียน และเครื่องหอมต่าง ๆ ชีวิตจะสุขสงบ มีความเบิกบานสดชื่น มีความหอมทั้งกาย ทั้งเกียรติยศ มีความราบรื่น อุปสรรคลดลง ปัญญาและใจสว่าง

---กราบไหว้บูชาด้วยการสรงน้ำพระธาตุ  ชีวิตร่มเย็นเป็นสุข  จิตใจผ่องแผ้วไร้ทุกข์  สุขภาพดี  อายุมั่นขวัญยืน

---กราบไหว้บูชาและถวายทองคำเปลวปิดองค์พระธาตุ  จะประสบความสำเร็จรุ่งเรือง จิตใจสงบสุข ชีวิตรุ่งโรจน์สดใส  กายใจมีราศีผุดผ่อง

---กราบไหว้บูชาพระธาตุด้วยดอกไม้หอมหรือพวงมาลัยดอกไม้  จิตใจเบิกบานเป็นสุข ชีวิตมีความบริสุทธิ์ มีผู้คนชื่นชมทั่วไป

---กราบไหว้บูชาพระธาตุแล้วถวายเทียน ตะเกียง โคมไฟ  ชีวิตพ้นทุกข์และความมืดมน  มีความสว่างรุ่งเรือง หมดอุปสรรคหมดเคราะห์ ปัญญาและจิตใจสว่าง

---กราบไหว้บูชาพระธาตุด้วยการถวายผ้าเหลืองครององค์พระธาตุ  จะประสบความสุขความเจริญเสริมส่งบุญบารมีจิตสงบปัญญาบรรเจิด 

---กราบไหว้บูชาและร่วมบูรณะซ่อมแซมพระธาตุ  ชีวิตอุดมด้วยโภคทรัพย์ ลาภยศ สรรเสริญ มีเดช มีบุญบารมีสูงขึ้น อายุมั่นขวัญยืน  ปลอดโรคภัยและอันตราย

---กราบไหว้บูชาด้วยการถวายธงประดับองค์พระธาตุ จะมีความสุขความเจริญ  มีโชคลาภ มีสง่า  ราศีบรรเจิด

---กราบไหว้บูชาและเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ  ชีวิตจะประสบความสุขความสำเร็จ  เสริมสิริมงคลแก่ตน จิตสะอาดสงบ และยังเป็นการสั่งสมบุญบารมี

---กราบไหว้และถวายอาหารบูชาพระธาตุ  จะมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์  ไม่ขัดสน  จิตใจอิ่มเอิบ อายุมั่นขวัญยืน

---กราบไหว้บูชาและถวายกระจกสีประดับพระธาตุ จะเพิ่มพูนสง่าราศี  ชีวิตสว่างโชติช่วง  เป็นที่นับถือยกย่องของคนทั่วไป

---กราบไหว้บูชาและถวาย  ปูน  ทราย  อิฐ  หรือหิน  ชีวิตจะมีหลักมีฐานอันมั่นคง  มีความสมบูรณ์มั่งคั่งทั้งฐานะและจิตใจ

---กราบไหว้บูชาและถวายพระเครื่องบรรจุในองค์พระธาตุ ชีวิตราบรื่นหมดเคราะห์หมดอุปสรรคมีผู้ช่วยเหลือเกื้อกูล มีความรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย

 ---กราบไหว้บูชาและถวายแผ่นหินปูพื้นพระธาตุ  จะมีความมั่นคงในฐานะความเป็นอยู่  มีความสะดวกราบรื่น  มากด้วยบริวารแวดล้อม  จิตใจสงบมีสมาธิ  มีความยึดมั่นในหลักธรรม

---กราบไหว้บูชาและร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานฉลองพระธาตุ  มีความรุ่งโรจน์สดใส  ไร้ทุกข์ภัยอันตราย  มีเดช  มีบุญบารมีสูง

---กราบไหว้บูชาและทำบุญสร้างพระธาตุ  ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่ลำบากยากไร้ มีความสำเร็จสมปรารถนา อายุมั่นขวัญยืน บุญบารมีสูงขึ้น

---กราบไหว้บูชาและถวายพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในพระธาตุ จะมีความสำเร็จอย่างสูงในชีวิต  มีความสุขด้วยสิ่งที่ปรารถนาเสมอ มีบุญบารมีสูงขึ้น

---กราบไหว้บูชาและถวายทองคำ  ชีวิตมั่งคั่งสมบูรณ์

---กราบไหว้บูชาและถวายเงิน  จะมีความร่มเย็นเป็นสุข  จิตใจผุดผ่อง

---กราบไหว้บูชาและถวายอัญมณี  ชีวิตเจริญก้าวหน้า  มีโชคลาภ  มีชัยชนะ

---กราบไหว้บูชาและถวายบทสวดหรือเทปสวดมนต์บูชาพระธาตุ จะมีความสุขความเจริญ มีเกียรติยศ ชื่อเสียงงดงาม  มีจิตใจงาม  มีเสียงไพเราะ  มีสมาธิดี ชีวิตราบรื่น หมดเคราะห์

---กราบไหว้บูชาและถวายหนังสือสวดมนต์บูชาพระธาตุหรือแจกเป็นทานแก่ผู้บูชาพระธาตุ  ชีวิตมีความสุขความเจริญ  ใจสว่าง ปัญญาสว่าง และถือเป็นการสั่งสมบุญบารมี

---กราบไหว้บูชาและถวายภาชนะบรรจุพระธาตุในพระเจดีย์  จะมีความเป็นอยู่สุขสบาย  มียศศักดิ์  มีทรัพย์มีบริวารดีสืบไป

---กราบไหว้บูชาและถวายฉัตรยอดพระธาตุชีวิตเจริญรุ่งโรจน์  อุดมด้วยยศศักดิ์วาสนา เป็นที่เคารพของคนทั่วไป กายทิพย์สว่าง มีสง่าราศี  ปัญญาบรรเจิดเลิศล้ำ  เมื่อละสังขารแล้วได้ไปจุติในชาติภพใหม่ที่อยู่ในตระกูลสูง.

ศีล ๒๒๗


               ศีล ๒๒๗ มีความหมายคือ ศีลสำหรับพระภิกษุ ซึ่งพระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ โดยอยู่ในภิกขุปาฏิโมกข์
ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน) เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด
๒.ห้ามด่า
๓.ห้ามพูดส่อเสียด
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูด ๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป

ธรรมเทศนา ออนไลน์


ธรรมเทศนา ออนไลน์


ธรรมเทศนาของ หลวงพ่อชา สุภัทโท (วัดหนองป่าพง)

ธรรมเทศนา เรื่อง : ต่อสู้ความกลัว

 

   Download แนวทางการปฏิบัติธรรม
   Download วิมุตติ
   Download ทางพ้นทุกข์
   Download ความสงบบ่อเกิดปัญญา
   Download การปล่อยวาง
   Download น้ำไหลนิ่ง
   Download ไม่แน่
   Download การเข้าสู่หลักธรรม
   Download ธรรมที่หยั่งรู้ยาก
   Download ต่อสู้ความกลัว
   Download กบเฒ่า นั่งเฝ้ากอบัว
   Download ทำใจให้เป็นบุญ และ ธรรมะ ธรรมชาติ
   Download สัมมาปฏิปทา
   Download สัมมาสมาธิ
   Download อยู่เพื่ออะไร และ ธรรมปฏิสันถาร
   Download ปฏิบัติกันเถิด และ สัมมาทิฐิ ที่เยือกเย็น
   ธรรมเชิงอุปมาอุปมัย ของหลวงพ่อชา สุภัทโท

หลวงพ่อชา สุภัทโท

   ชื่อเดิม ชา ช่วงโชติ เกิด วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2461 ที่บ้าน จิกก่อ หมู่ที่ 9 ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน   ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ ที่เคร่งครัดมาก ท่านได้ออกธุดงค์ไปจำพรรษายังที่ต่าง ๆ เพื่อสืบเสาะหาความรู้ด้านปฏิบัติ วิปัสนาธรรม โดยท่านได้รับการอบรมสั่งสอนธรรมจากพระอริยสงฆ์หลายท่าน อาธิเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ กินรี จันทิโย และ ท่านได้ออกธุดงค์ เผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอน แก่ชาวบ้านตามชนบท ที่กันดารต่าง ๆ เรื่อยมาจนกระทั่ง เดือน มีนาคม 2497 ขณะที่ท่าน ธุดงค์ พร้อมด้วย พระ เณร กลับบ้านเกิด ได้บรรลุถึงชาย ป่าแห่งหนึ่ง ใน ต.โนนผึ้ง ท่านจึงได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่นี่ ซึ่งก็คือ วัดหนองป่าพง อันเลื่องชื่อในปัจจุบัน และได้มีการขยาย สาขา ไปยัง ที่ต่าง ๆ เกืองร้อยแห่ง ทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ
   เชื่อกันว่า ท่านปฏิบัติธรรม จนบรรลุถึงขั้นพระอรหันต์ ดังนั้น ธรรมเทศนาของท่าน จึงเป็นหลักธรรมที่นำมาซึ่ง ความสุข ความสงบ โดยแท้จริงโดยหลักธรรมที่ท่านมักจะกล่าวถึงบ่อย ๆ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ ทางสายกลาง ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติ เพื่อไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น การปล่อยวาง ละทิ้งซึ่งอัตตา ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ไม่ยึดติดกับสุข ไม่ยึดติดกับทุกข์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มันไม่แน่นอนไม่เที่ยง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ แท้จริงแล้วตัวตนคือสิ่งสมมุติ แต่เราก็มายึดติดว่ามันมีจริง มีตัว มีตน เกิดเป็นอุปาทาน ตัวอุปาทานนี่แหละ ที่ทำให้เกิดทุกข์ เกิดภพ เกิดชาติ ชรา พยาธิ มรณะหากเราละได้ซึ่งตัวตน ตัวตนไม่มี อุปาทาน ก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่เกิด ภพชาติก็ไม่เกิด
ดังธรรมเทศนา ที่หลวงพ่อชาท่านได้สั่งสอนไว้ดังนี้
"ที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า ไม่มีภพ ไม่มีชาติ คือ ไม่มีอุปาทานนั่นเอง อุปาทาน เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าอุปาทานนั้น เราปล่อยไม่ได้ เราอยากสงบมันก็ไม่สงบ คนเราอยู่กับภพ ถ้าไม่มีภพ คิดไม่ได้ เพราะนิสัยของคนมันเป็นอย่างนั้น กิเลสของคนมันเป็นอย่างนั้น พระนิพพาน ที่พระพุทธองค์ท่านว่า พ้นจากภพชาติฟังไม่ได้ ไม่เข้าใจ มันเข้าใจแต่ว่า ต้องมีภพชาติ ถ้าไม่มีภพ ถ้าไม่มีที่อยู่ ฉันจะอยู่อย่างไร ยิ่งคนธรรมดา ๆ อย่างเราแล้วนี่ ฉันจะอยู่อย่างนี้ ไม่ดีกว่ารึ อยากจะเกิดอีก แต่ก็ไม่อยากตาย มันขัดกันซะอย่างนี้ ฉันอยากเกิด แต่ฉันไม่อยากตาย มันพูดเอาคนเดียว ตามประสาคน แต่การเกิดแล้วไม่ตายนั้น มีมั้ยในโลกนี้ เมื่อคนอยากเกิด ก็คือคนนั้นอยากตายนั่นเอง แต่เขาพูดว่า ฉันอยากเกิด แต่ไม่อยากตาย มันคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เขาก็ไปคิดให้มันเป็นทุกข์ ทำไมเขาคิดไปอย่างนั้น เพราะเขาไม่รู้จักทุกข์ เขาจึงคิดไปอย่างนั้น พระพุทธองค์ ท่านว่า ตายนี้มาจากความเกิด ถ้าไม่อยากตาย อย่าเกิดสิ แต่นี่อยากเกิดอีกแต่ไม่อยากตาย พูดกับกิเลส ตัณหานี่มันยาก มันลำบาก มันถึงมีการปล่อยวางได้ยาก"
:: อ้างอิงจากคลิปธรรมเทศนา เรื่องการปล่อยวาง นาทีที่ 32:12
   ธรรมมะของท่านไม่สอนให้ยึดติด ท่านสอนให้ละ ให้ปล่อย ให้วาง สุขก็ไม่ยึด ทุกข์ก็ไม่ยึด ทำใจให้อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือเหตุ เหนือผล ดังจะเห็นได้จากว่า ท่านจะไม่สร้าง พระเครื่อง หรือ ปลุกเสก วัตถุมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น  ท่านเห็นเป็นทางเสื่อม ทำให้คนยึดติด ทำให้คนหลงงมงายไปในทางที่ผิด เห็นเป็นของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์ แท้จริงแล้ว ธรรมะ ไม่ได้เป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นของจริง เป็นแนวทาง ที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ นั่นคือ นิพพาน นั่นเอง นิพพานที่แท้ เงินหาซื้อไม่ได้ แม้จะเอาเงิน เอาทองทั้งโลก มากองรวม ๆ กันก็หาซื้อได้ไม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ราคาถูกที่สุดในคราวเดียว คือ ได้มาฟรี ๆ นิพพานที่แท้ ได้มาฟรี ๆ ดังนั้น คนทุกคน ในโลกนี้ สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาย หรือ หญิง ถ้ารู้หลักปฏิบัติ และ เข้าใจในหลักธรรม การเข้าใจธรรมอย่างเดียวไม่พอ ต้องปฏิบัติด้วย ธรรมะ ที่ไม่ปฏิบัติ ไม่เกิดผลใด ๆ
ดังธรรมเทศนา ที่หลวงพ่อชาท่านได้สั่งสอนไว้ดังนี้
"เจ้านายบางคน ก็มากราบหลวงพ่อ เข้ามาถามว่า บ้านเมืองมันจะเป็นยังไงหนอ คงจะไม่เป็นอะไรมังครับ มันมีอำนาจของพระพุทธ อำนาจของพระธรรม อำนาจของพระสงฆ์ มีอำนาจของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา ไม่มีอำนาจอะไร แม้ก้อนทองคำ ก็ไม่มีราคา ถ้าเราไม่มารวมกันว่า มันเป็นโลหะที่ดี มีราคา ทองคำมันก็จะถูกทิ้ง เหมือนก้อนตะกั่ว เท่านั้นแหละ พระพุทธศาสนา ตั้งไว้ มีอยู่ แต่ถ้าเราไม่ประพฤติ ปฏิบัติ จะไปมีอำนาจอะไรเล่า อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่ แต่เราไม่อดทนกัน มันจะมีอำนาจอะไรมั้ย อำนาจหลักพระพุทธศาสนาก็คือ พวกเรา ที่เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนานี่แหละ ช่วยกันบำรุง เช่น ทำให้ศีลธรรมให้เกิดขึ้นมา ทำศีลธรรมให้เกิดขึ้นมา มีความสามัคคีกัน มีความเมตตาอารี ซึ่งกันและกัน มันก็จะเกิดขึ้นมาเป็นกำลังของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่า พระพุทธศาสนา มันมีอำนาจ ที่มีอำนาจก็เพราะ เราเอาธรรมะ มาปฏิบัติให้ถูกต้อง มันจึงจะมีพลังเกิดขึ้นมา ช่วยแก้ปัญหา หลายสิ่งหลายอย่าง อย่างเช่น คนในศาลานี้ ตั้งใจจะรบกัน แต่พอมาฟังธรรมะที่ว่า การอิจฉา หรือ การพยาบาท มันไม่ดี เข้าใจทุก ๆ คน เท่านั้นก็เลิกกัน อำนาจพระพุทธศาสนา ก็เต็มเปี่ยมขึ้นมาเดี๋ยวนั้น แต่ถ้าพูด ให้ฟังเท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมกัน มันก็รบกัน เท่านั้นแหละ พระพุทธศาสนา จะมากันอะไรได้ นี่มันเป็นอย่างนี้"
:: อ้างอิงจากคลิปธรรมเทศนา เรื่องธรรมที่หยั่งรู้ยาก นาทีที่ 40:10
 

การรักษาศีล 8


การรักษาศีล 8


การรักษาศีล 8
            ศีล คือ การประพฤติดีงาม มีพฤติกรรมที่ไม่เบียดเบียนและฝึกหัดเกลา ในการรักษาศีล 5 นั้น ช่วยให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยอย่างน้อยไม่เดือดร้อนจนถึงกับลุกเป็นไฟ แต่ไม่เป็นหลักประกันว่าคนจะมีความสุข ผู้ที่ปรารถนาชีวิตที่ดีงามมีความสุข ควรฝึกหัดพัฒนาตนต่อไปด้วยการรักษาอุโบสถหรือศีล 8 ซึ่งมีข้อปฏิบัติเพิ่มจากศีล 5 อีก 3 ข้อ และตามประเพณีทั่วไปนิยมรักษา ในวันขึ้น-แรม 8 ค่ำ และวันขึ้น-แรม 15 ค่ำ หรือแรม 14 ค่ำในเดือนขาดอุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีองค์สมาทานงดเว้น 8 ประการ แต่คำสมาทานพร้อมทั้งเจตนางดเว้นกำหนดเวลาต่างกันคือ ศีล 8 นั้น ผู้สมาทานต้องรักษาตลอดไปไม่มีกำหนดกาลเวลา ส่วนอุโบสถศีลนั้น ผู้สมาทานตั้งใจรักษาอย่างเคร่งครัดเพียงระยะวันหนึ่ง เฉพาะวันธรรมสวนะหรือวันพระเท่านั้น
             การรักษาศีล 8 นี้ เป็นการฝึกตนในการรักษาอิสรภาพของชีวิตไว้ไม่ให้ชีวิตและความสุขของตนต้องไปขึ้นต่อการเสพหรือบริโภควัตถุมากเกินไป ไม่ให้กลายเป็นคนลุ่มหลงมัวเมาในวัตถุ กล่าวคือ ใน 6-7 วันที่ผ่านมาเคยแต่ตามใจตนเอง หาความสุข ด้วยการกินตามใจชอบ ยุ่งอยู่กับการสนุกสนานดู ฟัง การบันเทิง และบำเรอสัมผัสกายด้วยการนอนฟูกหรูหรา พอมาถึงวันที่ 7 หรือ 8 ก็หัดเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ โดยพึ่งวัตถุแต่เพียงเท่าที่จำเป็นหรือพอแก่ความต้องการที่แท้จริงของชีวิต ฝึกเป็นอยู่ให้ดีงามและมีความสุข โดยไม่ต้องพึ่งการบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส เช่น กินอาหารเพียงในเวลาจำกัดแค่เที่ยงวันที่เพียงพอแก่สุขภาพ
             การปฏิบัติตามหลักการรักษาศีล 8 นี้ นอกจากเป็นการฝึกตนให้มีความสุขได้ง่ายขึ้นและพร้อมที่จะก้าวต่อไปในการพัฒนาชีวิตชั้นสูงขึ้นไปแล้ว ก็จะทำให้มีวัตถุเสพบริโภคเหลือพอที่จะนำไปเผื่อแผ่ให้ความสุขแก่ผู้อื่นและมีเวลาเหลือจากการมัวเมาเสพวัตถุที่จะนำไปใช้ในทางที่ดีงามสร้างสรรค์อย่างอื่น โดยเฉพาะในชั้นภาวนาที่เป็นการพัฒนาชีวิตจิตใจ และพัฒนาปัญญาของตน ตลอดจนไปบำเพ็ญทาน ทำการสงเคราะห์ หรือบำเพ็ญประโยชน์ด้านอื่น ๆ
             ศีล 8
1. เว้นจากปาณาติบาต ไม่ละเมิดต่อชีวิต ร่างกายกัน รวมทั้งไม่รังแกสัตว์
2. เว้นจากอทินนาทาน ไม่ละเมิดต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกันและกัน
3. เว้นจากอพรหมจรรย์ ถือพรหมจรรย์ งดเว้นเมถุน
4. เว้นจากมุสาวาท ไม่ละเมิดต่อกันทางวาจา ไม่ทำร้ายหรือทำลายผลประโยชน์กันด้วยวาจาเท็จ โกหก หลอกลวง
5. เว้นจากสุรายาเมาสิ่งเสพติด ไม่คุกคามต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้อื่นด้วยการมีพฤติกรรมที่ขาดสติสัมปชัญญะเพราะสิ่งเสพติด
6. เว้นวิกาลโภชน์ ไม่รับประทานอาหารในเวลาวิกาลหรือหลังพระอาทิตย์เที่ยงวัน
7. เว้นนัจจคีตวาทิต-มาลาคันธวิเลปนะฯ งดเว้นการฟ้อนรำ ขับร้อง เล่นดนตรี ดูการละเล่น และการประดับตกแต่งร่างกายใช้ของหอม เครื่องลูบไล้
8. เว้นอุจจาสยนมหาสยนา งดนอนบนฟูกฟู ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ หรูหราบำเรอตน

วิธีลดความเครียด


วิธีลดความเครียด
 
   เทคนิคแรกก็คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เวลาคนเราเครียดมาก ๆ กล้ามเนื้อจะมีการหดตัว สังเกตเห็นได้จากการที่มีอาการอากัปกิริยาต่าง ๆ ในขณะที่มีความเครียด เช่น หน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัด หรือกัดฟัน เป็นต้น การที่กล้ามเนื้อมีอาการหดเกร็งตัว ร่างกายมักจะรู้สึกปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง หรือปวดไหล่ เป็นต้น การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยให้อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลดลง นอกจากนั้นในขณะฝึกจิตใจจะจดจ่อ กับการคลายกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ทำให้ลดการคิดฟุ้งซ่านและวิตกกังวล จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
ในขณะฝึกให้นั่งในท่าที่สบาย ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ถอดรองเท้า หลับตา ทำใจให้ว่าง ตั้งสมาธิอยู่ที่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการผ่อนคลาย
ลองมาดูกันบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายลองฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ ดังนี้
1. กำมือและเกร็งแขนแล้วผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยค่อย ๆ คลายมือและกล้ามเนื้อแขนสลับทีละข้ามทั้งซ้ายและขวา
2. เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าผาก โดยเลิกคิ้วแล้วคลายหรือขมวดคิ้วและคลาย
3. เกร็งและผ่อนคลาย ตา แก้ม จมูล โดยหลับตาแน่น ย่นจมูกแล้วคลาย
4. เกร็งและผ่อนคลาย ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยกัดฟันใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้วคลาย หรือเม้มปากแน่นแล้วคลาย
5. เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยก้มหน้าให้คางจดคอแล้วคลาย เงยหน้าจนสุดแล้วคลาย
6. เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ไหล่ และหลังโดยหายใจเข้าลึก ๆ กลั้นไว้แล้วคลายหรือยกไหล่สูง แล้วคลาย
7. เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องและก้น โดยแขม่วท้องแล้วคลาย หรือขมิบก้นแล้วคลาย
8. เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและขาขวา โดยเหยียดขา งอนิ้ว แล้วคลาย หรือเหยียดขากระดกปลายเท้าแล้วคลาย
9. เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและขาซ้าย โดยเหยียดขา งอนิ้ว แล้วคลายหรือเหยียดขากระดกปลายเท้าแล้วคลาย


ขณะที่มีการเกร็งกล้ามเนื้อให้ใช้เวลาน้อยกว่าระยะเวลาที่ผ่อนคลาย เช่นเกร็ง 3-5 วินาที แล้วผ่อนคลาย 10-15 วินาที เป็นต้น นอกจากนั้นควรฝึกท่าละประมาณ 8-12 ครั้ง เมื่อทำไปนาน ๆ จนมีความรู้สึกคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเกร็งก่อน
เทคนิคอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้คือ การฝึกหายใจ ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ เคยสังเกตบ้างไหม ว่า เวลาเครียด ๆ คนเรามักจะหายใจถี่และตื้นมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อย จึงมีผลให้เกิดอาการถอนหายใจเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนมากขึ้น
ดังนั้นการฝึกหายใจช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้กล้ามเนื้อ กะบังลมบริเวณท้องจะช่วยให้ร่างกายได้อากาศ เข้าสู่ปอดมากขึ้น ทำให้เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง และลำไส้ การฝึกการหายใจอย่างถูกวิธีจะทำให้หัวใจ เต้นช้าลง สมองแจ่มใส เพราะได้ออกซิเจนมากขึ้น และการหายใจออกอย่างช้า ๆ จะทำให้รู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความเครียดออกไปจากตัวจนหมดสิ้น และที่สำคัญก็คือ สมองจะแจ่มใสขึ้น สามารถคิด แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ลองมาฝึกกัน โดยนั่งในท่าที่สบาย หลับตา เอามือประสานไว้ที่บริเวณท้อง ค่อย ๆ หายใจเข้า พร้อม ๆ กับนับตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้า ๆ ให้มือรู้สึกว่าท้องพอง กลั้นเป็นจีังหวะหายใจช้า ๆ เช่นเดียวกับเมื่อหายใจเข้า จากนั้นจึงค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจ โดยนับ 1 ถึง 8 อย่างช้า ๆ และพยายามไล่ลมหายใจออกมาให้หมด โดยให้สังเกตหน้าท้องแฟบลง
ทำซ้ำ ๆ กัน 4 - 5 ครั้ง โดยหายใจเข้าช้า ๆ กลั้นไว้แล้วหายใจออก โดยช่วงที่หายใจออกให้นานกว่าช่วงหายใจเข้า
การฝึกหายใจสามารถทำได้ง่าย ๆ ทำได้ทั้งวัดเวลาใดก็ได้ไม่เปลืองเงิน และไม่ต้องใช้สถานที่กว้างขวาง ดังนั้น เวลาเครียดหรือโกรธ ลองทำดูซิครับ จะรู้สึกว่าสบายใจขึ้นจริง ๆ
 
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/samutsongkhram/knowledge/s11/s11-4.htm